หมวดสินค้าหลัก

กฎหมายล้มละลาย (เอื้อน ขุนแก้ว)

ผู้เข้าชม 131 ครั้ง
  • รหัสสินค้า : NTB107
  • ราคาพิเศษ : 361 บาท
  • ราคาปกติ 380 บาท ลด 5%
  • Share รายการสินค้านี้

กฎหมายล้มละลาย

โดย : เอื้อน ขุนแก้ว
ISBN :978-616-60462-9-8
ปีที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 18 / กันยายน 2566
จำนวน 535 หน้า 

คำนำ
(พิมพ์ครั้งที่ ๑๘)
        กฎหมายล้มละลายเป็นกฎหมายที่ได้สร้างระบบการบริหารจัดการทรัพย์สินของ
ลูกหนี้ที่อยู่ในสภาวะมีหนี้สินล้นพันตัว เพื่อนำเงินที่ได้จากการจำหน่ายทรัพย์สินไปชำระหนี้
ให้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายโดยเป็นธรรมตามลำดับบุริมสิทธิ และเท่าเทียมกันในบรรดาเจ้าหนี้
ที่อยู่ในประเภทเดียวกัน ทั้งมีกลไกที่จะช่วยให้ลูกหนี้ซึ่งสุจริตมีโอกาสหลุดพ้นจากหนี้ที่
อาจขอรับชำระได้ แล้วเริ่มต้นชีวิตใหม่ (fresh star!) ต่อไปได้ ขณะเดียวกันก็มีบทบัญญัติ
ความผิดอาญาเกี่ยวกับการล้มละลาย เพื่อช่วยให้การใช้กฎหมายเป็นไปอย่างบริสุทธิ์ และ
ป้องกันมิให้มีการใช้กฎหมายแสวงหาประโยชน์ในทางมิชอบอันจะก่อให้เกิดความเชื่อมั่น
แก่สาธารณชนในการบังคับใช้กฎหมายต่อไป
         คำอธิบายกฎหมายส้มละลายเล่มนี้ ข้าพเจ้าได้อธิบายถึงหลักกฎหมายล้มละลาย
พร้อมยกแนวคำวินิจฉัยของศาลฎีกาเป็นตัวอย่างในการตีความกฎหมาย ทั้งข้าพเจ้ายังได้
แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับตัวบทกฎหมายและแนวคำวินิจฉัยต่าง ๆ อันจะเป็นประโยชน์
ในการศึกษาและแก้ไขกฎหมายล้มละลายของเราให้สมบูรณ์ต่อไป ในการจัดพิมพ์ครั้งที่
๑๘ นี้ ได้ปรับปรุงเนื้อหา แนวความคิดต่าง ๆ ให้ทันสมัยเป็นปัจจุบัน และขอขอบคุณ
อาจารย์นีรชา ชโต ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลประจำกองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา และอาจารย์
วรนันยา ใช้เทียมวงษ์ ผู้พิพากษาศาลขั้นตันประจำกองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา และ
อาจารย์ผู้บรรยายแห่งสำนักอบรมกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาที่ได้ช่วยค้นคว้า ตรวจทาน
เนื้อหาจนทำให้การจัดพิมพ์ครั้งนี้สำเร็จลุล่วงด้วยดี
           ข้าพเจ้าหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านพอสมควร
หากท่านเห็นว่า หนังสือเล่มนี้ควรมีคำอธิบายในประเด็นใดเพิ่มเติมหรือ
มีข้อเสนอแนะประการใด ขอโปรดแจ้งที่ e-mail : akunkeaw@hotmail.com
จะเป็นพระคุณยิ่ง
 
(อาจารย์เอื้อน ขุนแก้ว)
๒๒ กันยายน ๒๕๖๖


สารบัญ
        ∞  ส่วนที่ ๑ :  กระบวนพิจารณาหลัก
             บทที่ ๑  การฟ้องขอให้ล้มละลายและการสั่งพิทักษ์ทรัพย์
๑.๑ บททั่วไป
๑.๒ ความหมาย
๑.๓ วัตถุประสงค์ของกฎหมายล้มละลาย
๑.๔ การบริหารจัดการคดีล้มละลาย
๑.๕ ภาพรวมของคดีล้มละลาย
๑.๖ แผนผังกระบวนพิจารณาคดีล้มละลาย
๑.๗ มูลเหตุการฟ้องคดีล้มละลาย
๑.๘ ศาลที่มีอำนาจพิจารณา
๑.๙ หลักเกณฑ์ในการฟ้องขอให้ล้มละลาย
๑.๙.๑ เจ้าหนี้มีประกัน
๑.๙.๒ จำเลยในคดีล้มละลาย
๑.๙.๓ การฟ้องคดีล้มละลายของเจ้าหนี้ไม่มีประกัน
๑.๙.๔ การฟ้องคดีล้มละลายของเจ้าหนี้มีประกัน
๑.๑๐ กระบวนพิจารณาในชั้นศาล
๑.๑๑ การพิจารณาคดี
             บทที่ ๒ คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
๒.๑ คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว
๒.๒ คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
  ๒.๒.๑ ลักษณะทั่วไป
  ๒.๒.๒ กรณีที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
  ๒.๒.๓ กรณีที่ศาลพิพากษายกฟ้อง
๒.๓ การนำมูลหนี้ตามคำพิพากษามาฟ้องคดีล้มละลาย
๒.๔ การฟ้องให้หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดล้มละลาย
๒.๕ การพิจารณาคดี
๒.๖ การขอถอนฟ้อง
๒.๗ ขอบเขตการบังคับของคำสิ่งพิทักษ์ทรัพ
             บทที ๓ ผลของคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
๓.๑ ผลต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
  ๓.๑.๑ การสืบหาทรัพย์สินของลูกหนี้
  ๓.๑.๒ การเข้าว่าคดีแฟงที่ค้างพิจารณา
๓.๒ ผลต่อลูกหนี้
  ๓.๒.๑ การจัดการทรัพย์สิน
  ๓.๒.๒ หน้าที่ของลูกหนี้
  ๓.๒.๓ การควบคุมตัวและการจำกัดสิทธิของลูกหนี้
๓.๓ ผลต่อเจ้าหนี้
๓.๔ ผลต่อกฎหมายอื่น ๆ
             บทที่ ๔ การประชุมเจ้าหนี้
๔.๑ การประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรก
๔.๒ การประชุมเจ้าหนี้ครั้งอื่น
๔.๓ การขอให้ศาลทำลายมติที่ประชุมเจ้าหนี้
             บทที่ ๕ การประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย
๕.๑ การยื่นคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย
๕.๒ ผลของคำสั่งเห็นชอบกับคำขอประนอมหนี้
๕.๓ การยกเลิกการประนอมหนี้
๕ ๔ การไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผย
             บทที่ ๖ คำพิพากษาให้ล้มละลาย
๖.๑ การพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย
๖.๒ การเริ่มต้นการล้มละลาย
             บทที่ ๗ การประนอมหนี้ภายหลังล้มละลาย
             บทที่ ๘ การปลดจากล้มละลาย
๘.๑ ศาลมีคำสั่งปลดจากล้มละลาย
๘.๒ การพ้นจากล้มละลายโดยผลของกฎหมาย
๘.๓ ผลของการปลดจากล้มละลาย
             บทที่ ๙ กระบนพิจารณาคดีส้มละลายกรณีลูกหนี้ตาย
             บทที่ ๑๐ กระบนพิจารณาในกรณีที่ลูกหนี้เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ
ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด หรือนิติบุคคลอีน
๑๐.๑ ผู้ชำระบัญชีร้องขอให้นิติบุคคลล้มละลาย
๑๐.๒ การขอให้หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัด
ความรับผิดล้มละลายตามห้าง
 
        ∞  ส่วนที่ ๒ : การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
             บทที่ ๑๑ การขอรับชำระหนี้
๑๑.๑ การยื่นคำขอรับชำระหนี้
๑๑.๒ หนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้
๑๑.๓ การขอรับชำระหนี้ของบุคคลที่อาจใช้สิทธิไส่เบี้ย
๑๑.๔ สิทธิของเจ้าหนี้มีประกัน
๑๑.๔.๑ การขอให้บังคับบุริมสิทธิ
๑๑.๔.๒ การขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้มีประกัน
๑๑.๔.๓ การขอแก้ไขคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้มีประกัน
๑๑.๕ กระบวนพิจารณาคำขอรับชำระหนี้
๑๑.๖ การแก้ไขคำสั่งที่สั่งไปโดยผิดหลง
๑๑.๗ การขอกันส่วน
๑๑.๘ การโอนสิทธิเรียกร้อง
๑๑.๙ การหักกลบลบหนี้
             บทที่ ๑๒ หนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้
๑๒.๑ หนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
๑๒.๒ หนี้ที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
๑๒.๓ ผลของการสิ้นสุดคดีล้มละลาย
 
        ∞  ส่วนที่ ๓ การจัดการทรัพย์สิน
             บทที่ ๑๓ ทรัพย์สินอันอาจแบ่งได้ในคดีล้มละลาย
             บทที่ ๑๔ ผลของการล้มละลายเกี่ยวกับกิจการที่ได้กระทำไปแล้ว
๑๔.๑ ผลของคำสั่งศาลที่ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ไว้ชั่วคราว
หรือหมายบังคับคดี
๑๔.๒ การขอเพิกถอนการฉ้อฉล
๑๔.๓ การเพิกถอนการชำระหนี้อันปันการให้เปรียบ
๑๔.๓.- ลักษณะของนิติกรรมที่จะถูกเพิกถอน
๑๔.๓.๒ บุคคลที่มีสิทธิยื่นคำร้อง
๑๔.๓.๓ คำร้องขอเพิกถอน
๑๔.๓.๔ ผลของคำสั่งให้เพิกถอน
๑๔.๓.๕ การคุ้มครองสิทธิของบุคคลภายนอก
๑๔.๔ การขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่เป็นโมฆะ
             บทที ๑๕ การรวมรวบและจำหน่ายทรัพย์สิน
๑๕.๑ การทวงหนี้
๑๕.๒ การไม่ยอมรับทรัพย์สินหรือสิทธิตามสัญญา
๑๕.๓ การจำหน่ายทรัพย์สิน
             บทที่ ๑๖ การแบ่งทรัพย์สิน
             บทที่ ๑๗ การยกเลิกการล้มละลาย
             บทที่ ๑๔ การคัดค้านการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
             บทที่ ๑๙ การร้องขัดทรัพย์
             บทที่ ๒๐ เรื่องอื่น ๆ
๒๐.๑ การปิดคดี
๒๐.๒ กรรมการเจ้าหนี้
๒๐.๓ การโฆษณาทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์แทนการโฆษณา
ทางหนังสือพิมพ์
๒๐.๔ เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์
๒๐.๕ การขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ต่างประเทศ
๒๐.๖ ค่าธรรมเนียม
๒๐.๗ การปรับใช้กฎหมายในคดีล้มละลาย
 
        ∞  ส่วนที่ ๔ : ภาคผนวก
        ∞  ๑. คำถามประกอบการทบทวน
๑. การฟ้องขอให้ล้มละลาย
๒. ผลของคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
๓. การประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย
๔. การขอรับชำระหนี้
๕. การขอรับชำระหนี้ในสิทธิไล่เบี้ย
๖. การเพิกถอนการโอน
๗. การทวงหนี้
๘. การไม่ยอมรับทรัพย์สินหรือสิทธิตามสัญญา
๙.  การปลดจากล้มละลาย
๑๐. การยกเลิกการล้มละลาย
๑๑. คำถามหลายประเด็น
        ∞  ๒.  พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓
                   เฉพาะส่วนคดีล้มละลาย (แก้ไขสมบูรณ์)
        ∞  ๓. พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๒
        ∞  ๔. พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๗
        ∞  ๕. พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๕๘
        ∞  ๖. พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ ๑0) พ.ศ. ๒๕๖๑
 
 
จัดทำโดย...เอื้อน ขุนแก้ว (Auen Kunkeaw)

» หนังสืออื่นๆ ในหมวด กฏหมายล้มละลาย ฟื้นฟู

Close หน้าต่างนี้
Go Top